s 12 กฏพื้นฐานการรักษาโรคซึมเศร้า | REVIEW รีวิว เรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจสำหรับชาวไทย บทความน่าอ่าน สุขภาพ ไอที เรื่องราวน่าสนใจ

12 กฏพื้นฐานการรักษาโรคซึมเศร้า

12 กฏพื้นฐานการรักษาโรคซึมเศร้า

1.  อดทนกับตัวเอง! โรคซึมเศร้ามักจะพัฒนาอย่างช้าๆ และยังมีแนว โน้มที่จะค่อยๆ ถดถอยภายใต้การรักษา การบำบัดต้องใช้เวลา แต่เป็นสิ่งที่คุ้มค่า

2.  หากคุณต้องใช้ยา กรุณาใช้ยาอย่างถูกต้องตามใบสั่งแพทย์ จงอดทน ผลที่ได้มักจะเกิดช้า

3.  ยารักษาโรคซึมเศร้าไม่ใช่ยาเสพติดและไม่เปลี่ยนบุคลิกภาพของบุคคล

4.  เป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องแจ้งให้แพทย์ของคุณทราบเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นว่าคุณรู้สึกอย่างไร และคุณต้องจัดการความกลุ้มใจ ความวิตกกังวล หรือข้อสงสัยใดๆ ที่คุณอาจมีเกี่ยวกับการรักษาในรูปแบบที่เปิดเผยและเชื่อใจผู้อื่น

5. สอบถามทันทีหากคุณเกิดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ใดๆ ก็ตาม โดยปกติมักจะไม่เป็นอันตรายและจะปรากฏเฉพาะในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น

6.   ถึงแม้ว่าคุณจะมีอาการดีขึ้น ห้ามหยุดการรักษาด้วยยาเป็นอันขาด! เรื่องนี้ต้องได้รับการวางแผนอย่างรอบคอบ

7.   วางแผนในแต่ละวันอย่างถูกต้องเท่าที่จะเป็นไปได้ในตอนเย็นก่อน (ตัวอย่างเช่น การใช้ตารางเวลา) รวมกิจกรรมที่น่าพึงพอใจไว้ในแผนของคุณ

8.   ตั้งเป้าหมายเล็กๆ ที่ทำได้ง่ายให้ตัวของคุณเอง แพทย์ประจำตัวหรือ นักบำบัดอาจช่วยคุณทำสิ่งเหล่านี้ได้

9.   เขียนสมุดบันทึกประจำวันเกี่ยวกับอารมณ์ของตนเอง แพทย์ประจำตัวหรือนักบำบัดอาจอธิบายให้คุณทราบถึงวิธีการทำสิ่งนี้และจะพูดคุยกับคุณเกี่ยวกับการเขียนบันทึกของคุณ

10.  ลุกออกจากเตียงทันทีที่ตื่นนอน การนอนบนเตียงในขณะที่ตื่นนอน เมื่อเป็นโรคซึมเศร้าอาจทำให้ผู้ป่วยคิดมากเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ซึ่งมักจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่มาก พัฒนากลยุทธร่วมกับนักบำบัดของคุณใน
สถานการณ์ ดังกล่าว

11.  กระตุ้นร่างกายให้มีชีวิตชีวา การออกกำลังกายมีผลต่อยารักษาโรคซึม เศร้าและช่วยส่งเสริมการเกิดใหม่ของเซลล์ประสาท

12.  เมื่อคุณรู้สึกดีขึ้น: ทำงานร่วมกับแพทย์ประจำตัวหรือนักบำบัดเพื่อหาวิธีการที่คุณสามารถลดความเสี่ยงส่วนบุคคลในการกลับสู่สภาพเดิม ของคุณ ระบุสัญญาณเตือนแต่เนิ่นๆ และร่างแผนสำหรับภาวะวิกฤต

ข้อมูลจาก ด็อกเตอร์มาร์ติน อี เคค PD Dr. med. Dr. rer. nat.
Share on Google Plus

ถ้าเห็นว่าบทความเจ๋ง ช่วยแชร์ด้วยนะครับ ^ ^

    Facebook Comment
    Blogger Comment

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น