s รีวิววิธีการเลือกซื้อ Power Bank แบตเตอรี่สำรอง แบตสำรอง แบตพกพา ที่ถูกต้อง | REVIEW รีวิว เรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจสำหรับชาวไทย บทความน่าอ่าน สุขภาพ ไอที เรื่องราวน่าสนใจ

รีวิววิธีการเลือกซื้อ Power Bank แบตเตอรี่สำรอง แบตสำรอง แบตพกพา ที่ถูกต้อง



วิธีการเลือกซื้อ Power Bank แบตเตอรี่สำรอง แบตสำรอง แบตพกพา ที่ถูกต้อง ไม่ให้โดนหลอก และเข้าใจการทำงานของ และ ดูแลรักษา power bank ในยุคซื้อสินค้าออนไลน์ 2014

powerbank แบตเตอรี่สำรอง แบตสำรอง แบตพกพา


1. ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า Power Bank คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร
Power Bank คือพลังงานสำรอง หรือที่เรารู้จักในชื่อ แบตเตอร์รี่สำรอง นั้นเอง ซึ่งเกิดจากการนำ แบตเตอร์รี่ที่มีการออกแบบความจุมากหลาย ๆ เท่า ห่อหุ้มด้วยวัสดุ
กันระเบิดอย่างแน่นหนาเพื่อให้สะดวกพกพาเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆเมื่อแบตเตอรี่หรือพลังงานสำรองในอุปกรณ์สมาร์ทโฟน แทบเล็ต กล้องดิจิตอล เป็นต้น หมดลง เราก็สามารถนำมาใช้งานชาร์จพลังงานได้เลย สะดวกสบาย ไม่ต้องหงุดหงิดกับแบตเตอรี่หมดอีกต่อไป เพราะ Power Bank มีช่องจ่ายกระแสไฟฟ้าบ้านเข้าตัวแบตเตอร์รี่ เรียกว่า Input และ มีช่องจ่ายพลังงานจากแบตเตอร์รีเข้าสู่สมาร์ทโฟน/
แทบเล็ต เรียกว่า Output อยู่ในตัวเดียวกัน

2. ก่อนเลือกซื้อ แบตสำรอง Power Bank เราควรจะรู้ว่า สมาร์ทโฟน/แทบเล็ต ที่เราใช้อยู่มีความจุแบตเตอรี่เท่าไหร่ เราเรียกหน่วยความจุนี้ว่า mAh (มิลลิแอมป์)

mAh ย่อมาจาก m = milli ( มิลลิ)
A = mp ( แอมป์)
h = hour ( ชั่วโมง)

หมายความว่า สมาร์ทโฟน/แทบเล็ต ที่เราใช้ อยู่นั้น ใช้กี่ mAh ต่อการชาร์จเต็ม 100% 1 ครั้ง

สำหรับสมาร์ทโฟน/แทบเล็ต ที่ใช้กันในปัจจุบันจะมีแบตเตอรี่ความจุประมาณเท่าไร เช่น

I-Phone 5s ความจุประมาณ 1570 mAh
I-Phone 5c ความจุประมาณ 1507 mAh
I-Phone 5 ความจุประมาณ 1440 mAh
I-Phone 4S ความจุประมาณ 1430 mAh
I-Pad mini ความจุประมาณ 4490 mAh
The new I-pad ความจุประมาณ 11560 mAh

Sumsung Galaxy s4 ความจุประมาณ ประมาณ 2600 mAh
Sumsung Galaxy s3 ความจุประมาณ ประมาณ 2100 mAh
Sumsung Galaxy Note3 ความจุประมาณ ประมาณ 3200 mAh
Sumsung Galaxy Note2 ความจุประมาณ ประมาณ 2600 mAh

Nokia Lumia 520 ความจุประมาณ 1430 mAh
Nokia Lumia 620 ความจุประมาณ 1330 mAh
Nokia Lumia 920 ความจุประมาณ 2000 mAh

Sony xperia C ความจุประมาณ 2390 mAh

Blackberry ความจุประมาณ 1100 mAh

Huawei Cheetha ความจุประมาณ 1700 mAh

ดูเพิ่มเติมได้ที่ของแบตเตอรี่และแต่ละรุ่นเวป http://www.gsmarena.com/

3. เลือกซื้อ Power Bank หรือแบตเตอร์รี่สำรอง ต้องพิจารณาอะไรบ้าง


(1) รู้จักแบตเตอรี่ที่นำมาทำ powerbank เสียก่อน

ส่วนใหญ่แบตเตอรี่ที่นิยมมาทำ แบตสำรอง มีอยู่2ชนิด
(1.1) แบตเตอรี แบบ ลิเทียมโพลิเมอร์ Lithium-Polymer



คุณสมบัติของแบตเตอรี่ชนิด ลีเธี่ยม-โพลิเมอร์ (Lithium-Polymer)
-แบตสามารถทำตามรูปร่างที่ต้องการได้
-เก็บประจุไฟนาน 1ปี โดยคลายประจุน้อยมาก
-ของเหลวด้านในเจอล ไม่ติดไฟ ปลอดภัย ลดความเสี่ยงเรื่องระเบิด
-พร้อมใช้งาน แกะออกจากกล่องแล้วใช้ได้ทันที
-จะใช้จนพลังงานหมดเกลี้ยงก็ได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องแบตเตอรีเสื่อมเร็ว
-น้ำหนักเบา พกพาสะดวก
-ข้อเสีย
มีราคาแพงกว่าแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน lithium ion

(1.2) แบตเตอรี่ แบบ ลิเธียมไอออน lithium ion 18650



18650 สำหรับเราๆท่านอาจจะไม่คุ้นเคยกับคำว่า '18650 'หมายถึงแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (lithium ion battery)ขนาด ในทาง ทฤษฎีแบตเตอรี่ควรวัด 18mmx65mm และเป็นทรงกระบอก (ผมเชื่อว่า '0 'ในตอนท้ายของ '18650' คือการอ้างอิงถึงรูปร่าง) 18,650 แบตเตอรี่โดยทั่วไปมักพบภายในแล็ปท็อป โน๊ตบุ๊ค และไฟฉายเดินป่า

คุณสมบัติของแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน (Lithium-ion)
-เริ่มคลายประจุหลังการชาร์จ ภายในไม่กี่สัปดาห์
-ของเหลวด้านในเป็นเคมี มีความปลอดภัยน้อยกว่าชนิด Polymer
-ประจุไฟที่มีอยู่ หากเปิดกล่องใช้งานครั้งแรกมีน้อยกว่าแบบ Polymer
-ไม่ควรใช้จนพลังงานหมดเกลี่ยง เพราะจะทำให้แบตเตอรีเสื่อมเร็ว
-มีน้ำหนักมากกว่าแบบ Polymer

(2) สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับ Power Bank
เคยสงสัยไหมว่า ทำไม Power Bank ความจุ 2600 mAh ถึงชาร์จ I-phone 4s ได้ครั้งเดียว (ถ้าคำนวณแล้วน่าจะชาร์จได้ 2 ครั้งใช่หรือไม่?) แต่ในความเป็นจริง Power Bank จะศูนย์เสียพลังงานจากการ Input คือ การชาร์จไฟบ้านเข้า Power Bank และ Out putคือการชาร์จจาก Power Bank เข้าสมาร์ทโฟน/แทบเล็ตนั่นเอง

สิ่งที่ควรทราบอีกอย่างคือ แบตเตอรี่ที่อยู่ใน Power Bank มีแรงดัน 3.7 volt และ แบตเตอรี่ในสมาร์ทโฟน มีแรงดัน 5 volt การที่ต้องดึงแรงดันจากตัว Power Bank ให้เป็น 5 volt เท่ากับว่ามีการปรับระดับขึ้นมาทำให้ความจุที่ตัว Power Bank จะลดลง ดังนั้นความจุของ Power Bank จะไม่ใช่ 2600 mAh เนื่องจาก Power Bank จะเหลือกระแสไฟที่ใช้ได้จริงประมาณ 60% (***แต่ความจริงควรจะได้ 70-75% ถ้าได้60% ก็ถือว่าแย่แล้ว)ดังนั้น ความจุ 2600 mAh จะเหลือพลังงานที่ใช้ได้จริงประมาณ 1500 mAh ทำให้ชาร์จ i-phone 4s ได้ 1 ครั้ง เท่านั้น ปัจจัยอีกอย่างก็คืออากาศร้อนในบ้านเราด้วยที่ทำให้พลังงานลดลง

ทางทฎษดี วิธีคำนวณ: ถ้าเราอยากทราบว่า Power Bank สามารถชาร์จเข้าไปในสมาร์ทโฟน/แทบเล็ต ในปริมาณพลังงานที่ใช้ได้จริงเท่าไร สามารถคำนวณได้ดังนี้
>> เลขความจุกี่ mAh x 60% = ความจุจริง mAh
ตัวอย่าง : Power Bank ความจุ 5000 mAh สามารถชาร์จ Huawei รุ่น Cheetha ความจุ 1700 mAh ได้ความจุแบตเตอรี่ที่ใช้ได้จริงเท่าไรและชาร์จได้กี่ครั้ง
>> 5000 mAh x 60% = 3000 mAh (ได้ความจุจริงประมาณ 3000 mAh )
นำ 3000 mAh หาร 1700 mAh = 1.76 ครั้ง (สามารถชาร์จ Cheethaได้ประมาณ 1.76 ครั้ง )

ดังนั้นในการเลือกซื้อ Power Bank ให้เหมาะกับความจุสมาร์ทโฟน/แทบเล็ต ของเรา เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามตัวอย่าง ต้องซื้อ Power Bank ขนาด 6000 mAh ขึ้นไปเพื่อให้สามารถชาร์จได้ 2 รอบเต็ม

***ความเป็นจริงถ้าซื้อ power bank มาแล้ว มีอยู่แล้ว ลองคำนวณดูแล้วเทสเลยครับ ถ้าคุณได้ต่ำกว่า65% ผมถือว่า power bank รุ่นนั้นแบนด์นั้น ไม่ได้มาตรฐาน

(3) อัตราการคายประจุของ Power Bank หรือแบตเตอร์รี่สำรอง

อัตราการคายประจุสำคัญมากค่ะ เพราะ Power Bank หรือแบตเตอร์รี่สำรอง เมื่อได้รับการชาร์ตไฟบ้านเข้าจนเต็มตัวมันเองแล้ว เราก็จะถอดปลั๊ก แล้วก็พกมันเพื่อเดินทางไปกับเราระหว่างวัน ทันทีทีหยุดชาร์ตไฟ Power Bank จะเริ่มคายพลังงานประจุไฟฟ้าที่เก็บไว้ ทิ้งออกไปเรื่อย ๆ (สลายตัวมันเอง) ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ Power Bank อยู่แล้ว ถ้าเลือกแบรนด์ต่ำ ๆ คุณภาพไม่ดีอัตราการคายประจุจะเร็วมากๆ มากจนมันคายหมดไปเลย (****ลองอ่านด้านบน รู้จักแบตเตอรี่ที่นำมาทำ powerbank เสียก่อน)

(4) อัตราการรับไฟบ้านเข้า Power Bank (In put) และอัตราการจ่ายไฟออกจากPower Bank ให้กับสมาร์จโฟน/ แทบเล็ต (Out Put)
เราสามารถพิจารณาข้อมูล Input –Output ได้ข้างกล่องหรือที่ตัว Power Bank เช่น
Input : DC 5V – 2.1 A (max) หมายความว่า ตอนชาร์ตไฟบ้านเข้าตัว Power Bank กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าไปเก็บสูงสุดต่อหน่วยเวลา คือ 2.1 แอมป์ (ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่เร็วมากและปลอดภัยสำหรับแบตเตอร์รี่สำรอง) ดังนั้น ถ้าพิมพ์ว่า 1.0 A (max) ก็แสดงว่า ชาร์ตไฟบ้านเข้าตัวPower Bank นานมาก ยิ่งความจุ 12,000 มิลลิแอมป์ อาจนานถึง 15 ชั่วโมงเลยทีเดียว ส่วนใหญ่ที่พบคือ 1.0A

Output : DC 5V – 2.1 A หมายความว่า ตอนชาร์ตมือถือ / แทบเล็ตเข้ากับตัว Power Bank แล้ว กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าสูงสุดต่อหน่วยเวลา คือ 2.1 แอมป์ (ยิ่งมาก ยิ่งดี 2.1 A ถือว่าเร็วมาก ๆ ซึ่งปกติในท้องตลาดจะมี 1.0 A กับ 2.1 A )

การตรวจสอบค่า Input –Output :
>>ค่า Input : ในการบอกค่าของมิลลิแอมป์ มีทั้งแบบแสดงเป็นแอมป์ หรือมิลลิแอมป์ เอา 1000 คูณค่าแอมป์ลงไปก็จะได้ค่า
มิลลิแอมป์ 0.5A = 500 mAH
1A = 1000 mAH
Input คือไฟที่เข้าไปยัง Power Bank จะมีขนาดเท่าไหร่ วัดเป็นมิลลิแอมป์ต่อ ชม. เช่น Input : 1A คือไฟจะเข้าไปยัง Power Bank ที่ 1 แอมป์ (1000 มิลลิแอมป์ mAh) ต่อการชาร์ท 1 ชม. หาก Input น้อย เช่น 0.5A (500 มิลลิแอมป์ mAh) ต่อ ชม. ก็จะทำให้การชาร์ทเข้าไปยัง Power Bank ของคุณ นานกว่าปกตินั่นเอง หากคุณชอบชาร์ทเก็บไฟเร็วทันใจควรเลือก Input ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 1A (1000mAh)ขึ้นไป

ตัวอย่าง : ถ้า Power Bank ของคุณ มีความจุที่ 5000 mAh แล้วมี Input ที่ 1A คุณจะใช้เวลา 5 ชม. ชาร์ทไฟเก็บไว้จนมันเต็ม

***ในความเป็นจริง จากการเทสของผมไฟที่จ่ายเข้า power bank ก็ไม่เต็ม1.0A แน่นอนจากการเทสของ หลายยีห้อ ได้ประมาณซักเฉลี่ยแล้วประมาณ 0-60-0.85 A หรือประมาณ800 mAh ต่อชั่วโมง ผมใช้ อแดปเตอร์ไอโฟน 4 ที่จ่ายไฟสูงสุด 1.0 A ถ้า powerbank ของคุณ 5000mAh ก็คือ 5000หารด้วย 800 = 6.25 ช.ม.


**แล้วพวกpowerbank ที่บอก 30000 mAh ตามเวปดีลต่างๆๆที่ผมเห็นจะชาร์จนานกี่ ช.ม ละครับ

ถ้าชาร์จเร็วกว่าที่ผมคำนวณละก็ คุณโดนหลอกอีกแล้ว !!!!

>> ค่า Output : คือ ความจุของไฟที่จะชาร์ทเข้าไปยังอุปกรณ์สมาร์ทโฟน/แทบเล็ตของคุณ อันนี้สำคัญกว่า ค่า Input ดังที่กล่าวมาข้างต้น เพราะว่า สมาร์ทโฟน/แทบเล็ตของคุณต้องการ Input ที่เหมาะสมในการชาร์ทไฟเข้าไป มันจะบอกทั้งเวลาในการชาร์ทเพื่อให้ แบตเตอรี่สมาร์ทโฟน/แทบเล็ตคุณเต็ม
Output ของ Power Bank แต่ละรุ่น มีตั้งแต่ 0.5A ไปจนถึง 2.1A โดยสังเกตุที่ด้านหลังของ Power Bank หรือคู่มือคุณก็จะทราบค่า Output โดยแสดงเป็นตัวเลข A หรือ mAh ก็ให้เอา 1000 คูณค่า A เข้าไปจะได้ mAh ต่อชม. ถ้าเป็น สมาร์ทโฟน ที่จอขนาด 3-5 นิ้ว แบตเตอรี่จะรองรับที่ 0.5-2A ซึ่งไม่เป็นปัญหาในการเลือก Power Bank เพราะจะใช้ได้หมดเกือบทุกยี่ห้อ แต่ถ้าเป็น แทบเล็ต ที่มีขนาดใหญ่กว่า 7 นิ้ว บางรุ่นจะใช้ 1A หรือมากกว่าในการชาร์จ ทำให้บางครั้งคุณจึงไม่สามารถชาร์ท แทบเล็ต โดย Power Bank ที่มี Output ต่ำกว่า 1A หรือ 1000 mAH ได้ หรืออาจจะชาร์ทได้ ก็ไม่เป็นผลดีต่อ แทบเล็ต ของคุณ เพราะว่า 500mAH แปลว่าคุณจะต้องชาร์ทมันมากกว่า 10 ชม. กว่า แทบเล็ต ของคุณจะเต็ม (กรณี แทบเล็ต ใช้แบตเตอรี่ที่ 5000mAhขึ้นไป) และความร้อนจากการชาร์ทที่นานเกินไป จะไปลดอายุการใช้งานของ แบตเตอรี่ในแทบเล็ตของคุณ

ทางทฎษดี : ระยะเวลาในการชาร์ท คำนวณจากความจุแบตเตอรี่ ของคุณ หารด้วย Output ของ Power Bank เช่น l-Phone5 มีความจุแบตเตอรี่ 1440 mAH ส่วน Power bank คุณมี Output ที่ 500mAh คุณจะใช้เวลาชาร์ททั้งสิ้น 1440/500 = 2.88+ ชม. ถึงจะเต็ม โดยเครื่องคุณจะต้องไม่เปิดใช้งาน Internet /3G ขณะกำลังชาร์ท ไม่เช่นนั้นระยะเวลาอาจจะมากกว่า/2.88+ ชม.
** ในความเป็นจริงจากทางเทสและทดสอบ จาก powerbank หลายแบนด์ ที่ Output 1.0 A จะได้เฉลี่ยประมาณ 0.5-0.9 ครับ สามารถชาร์จ พวกsmartphone iphone4 4s 5c 5s Samsung S1 S2 S3 แล้วเล่นเกมไปด้วย แบตยังเพิ่มได้จนเต็ม100% แต่เป็นตระกลู Note2 3 S4 จะเอาไม่ค่อยอยู่ครับ ยิ่ง IPAD TABLET นี้ยากยิ่งกว่าครับ ถ้า Note2 3 S4 IPAD TABLET ผมแนะนำ ให้หาออก2.1A ครับ จากการเทสจะได้ ประมาณเฉลีย 1.3- 1.5 A แต่เทสpowerbank บางแบนด์ บอกOutputออก 2.1 A เอาเข้าจิง ออกไม่ถึง 1.0 A ด้วยซ้ำ โดนหลอกอีกตามเคย -*-

(4) ราคา
powerbank มีตั้งแต่ 250- 3,000 บาท แล้วแต่ความจุ ดีไซน์ วัสดุกรอบนอก คุณภาพแบต แบนด์สินค้า และระยะเวลาการรับประกัน แล้วยังมีปัจจัยเรื่องสินค้าเรียนแบบอีก ส่วนใหญ่แบตสำรองบ้านเราของ ส่วนใหญ่มาจากเซิ้นเจิ้นประเทศ จีน และที่บอกฮ่องกง ก็คือจีนอยู่ดีละครับ



***แต่ผมให้ข้อคิดในการเลือกซื้อแล้วกัน ถ้าให้เลือกก็คงเลือกที่ประกันยาวนานเกิน6 เดือน ขึ้นไปครับ หาที่เคลมง่ายๆ ผู้ขายให้ข้อมูลอย่างถูกต้อง หรือผ่านมาตรฐาน MFI ราคาเอาเรื่องอยู่ แต่ มอกแนะนำเท่าที่เราเคยดูก่อน 3 รุ่น

1.eneloop ราคาค่อนข้างสูงประมาณ 1xxx ปลายๆ ถึง 2000 ต้นๆ เก็บได้แค่ประมาณ 5000 mAh ถ่าน Sanyo

2.Sanyo ราคาถูกกว่าเพราะเพิ่งออกมาตีตลาด ตีแบรนธรรมดาไม่ใช่ eneloop ราคาเลยถูกกว่า น่าจะรุ่น Probox 7800 mAh ราคาประมาณ 1xxx ต้นๆ 1490-1600 ประมาณนี้ แต่ก็หนักหน่อยเพราะแบตเยอะ แต่รุ่น 5200 mAh ก็มีราคาก็ประมาณ 1200

3.Cooler Master 5600 mAh ราคาประมาณ 12xx-14xx ตัวจะเล็กกะทัดรัด แถมปากกา stylus มาให้ด้วย มีสีสันให้เลือกเยอะ แถมถุงผ้ามาใส่




ส่วนตัวเราใช้รุ่น Cooler Master ชาร์ต ip4s ได้ประมาณ 2 รอบกว่าๆ ชาร์ต ipad ได้ประมาณ 60% แต่เราว่าข้อเสียคือ ถ้าเราถอดมือถือจากการชาร์ตเราต้องถอดสายออกจากแบตสำรองด้วย ไม่งั้นเหมือนมันคายประจุ แต่ถ้าถอดสายหลังชาร์ตก็ไม่มีปัญหาอะไร แล้วก็ชาร์ตเร็วค่อนข้างโอเค ส่วนยี่ห้ออื่นไม่รู้ว่าคายมั้ย เพราะอันนี้มีปุ่มเดียว คือเปิดเครื่องไม่เห็นปุ่มปิด แต่ซื้ออันนี้มาเพราะตอนนั้น โปรแรง แถมที่ชาร์ตสำรองตัวเล็กอีกอันด้วย แต่ตอนนี้คงไม่มีแล้ว




แต่ eneloop ก็ค่อนข้างทน แต่เหมือนว่าตีแบรนด์เลยราคาสูง ปกติใช้ถ่านยี่ห้อนี้กับจอย xbox ก็ทนดี ชาร์ตซ้ำได้บ่อย แต่ถ้าเป็นชาร์ตสำรองเราว่าราคาสูงไปนิด แต่ก็แล้วแต่คนชอบเนาะ พอจะเป็นประโยชน์ เพราะส่วนตัวแล้วไม่ค่อยกล้าเสี่ยงกับของจีนเท่าไร กลัวระเบิด อิอิ




อ่อ ลืมบอกมีประกันทุกตัวค่ะ แล้วก็อย่าลืมว่าถ้าแบตเยอะ ตัวสำรองก็จะยิ่งหนักมากขึ้นๆด้วยค่ะ ส่วนรูปเสิจดูกันเองละกันนะคะ แล้วแต่คนชอบค่ะ
Share on Google Plus

ถ้าเห็นว่าบทความเจ๋ง ช่วยแชร์ด้วยนะครับ ^ ^

    Facebook Comment
    Blogger Comment

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น